Table of Contents
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
78. ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ เป็นหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 4 อย่าง บ้างเรียกว่า หัวใจเศรษฐี \”อุ อา กะ สะ\” อาจเรียกสั้น ๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ (เนื่องจากอัตถะ แปลว่า ประโยชน์อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีประโยชน์ ซ้ำซ้อนกันสองคำก็ได้) หรืออาจเรียกเต็ม ๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น เพื่อประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มี ทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม 4 ประการ คือ
อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น เช่นขยันหมั่นเพียร เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่อง อันเป็นอุบายในการงานนั้น ให้สามารถทำได้สำเร็จ
อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ (ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม) เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ไม่ให้ถูกลัก หรือทำลายไปโดยภัยต่างๆ
กัลยาณมิตตตา คบคนดี ไม่คบคบชั่ว อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้สุรุ่ยสุร่ายฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
600525 ยถาธรรม ยถากรรม
ยถาธรรม ยถากรรม
ธรรมเทศนาโดย
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตตมหาเถระ)
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
ณ.พระอุโบสถ วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม
ทิฏฐธัมมิกัตถะหรือสัมปรายิกัตถะ
ท่านแนะนำให้มงคลสูตรแก่พระใหม่ไปศีกษา
จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
อรรถศาสน์ คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ
๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน
๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า
๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน
ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้;
มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี ทำให้ชีวิตนี้มีค่า และเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค
๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม
ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน;
เป็นคำเรียกกันมาติดปาก
ความจริงคือ ปรมัตถะ แปลว่า “ประโยชน์อย่างยิ่ง”
เหมือนทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่า “ประโยชน์ปัจจุบัน”
และสัมปรายิกัตถะ แปลว่า “ประโยชน์เบื้องหน้า”
ก็มักเรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และสัมปรายิกัตถประโยชน์
มงคลสูตร จาก wikipedia.org
หมวดที่ ๑
ไม่คบคนพาล
คบบัณฑิต
เปลี่ยนทาง
บูชาคนที่ควรบูชา
หมวดที่ ๒
อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มีบุญวาสนามาก่อน
ตั้งตนชอบ
หมวดที่ ๓
เป็นพหูสูต
มีศิลปะ
มีวินัย
มีวาจาสุภาษิต
หมวดที่ ๔
บำรุงมารดาบิดา
เลี้ยงดูบุตร
สงเคราะห์ภรรยา(สามี)
ทำงานไม่คั่งค้าง
หมวดที่ ๕
บำเพ็ญทาน
ประพฤติธรรม
สงเคราะห์ญาติ
ทำงานไม่มีโทษ
หมวดที่ ๖
งดเว้นจากบาป
สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
ไม่ประมาทในธรรม
หมวดที่ ๗
มีความเคารพ
มีความถ่อมตน
มีความสันโดษ
มีความกตัญญู
ฟังธรรมตามกาล
หมวดที่ ๘
มีความอดทน
เป็นผู้ว่าง่าย
เห็นสมณะ
สนทนาธรรมตามกาล
หมวดที่ ๙
บำเพ็ญตบะ
ประพฤติพรหมจรรย์
เห็นอริยสัจจ์
ทำพระนิพพานให้แจ้ง
หมวดที่ ๑๐
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
จิตไม่โศก
จิตปราศจากธุลี
จิตเกษม
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ – พระราชธรรมวาที
ธรรมบรรยายพิเศษ
เรื่อง ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
วันพุธที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙
เวลา ๑๔.๐๐ น.
คาถาหัวใจเศรษฐี (อุ อา กะ สะ) ทิฏฐธัมมิกัตถะ
คาถาหัวใจเศรษฐี (ทิฏฐธัมมิกัตถะ)
อุ อา กะ สะ
๑. อุฏฐานสัมปทา ขยันทำมาหากิน
๒. อารักขสัมปทา รู้จักเก็บรักษาทรัพย์สิน
๓. กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนดี
๔. สมชีวิตา ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม
ถ้าคุณสมบัติ ๔ ข้อนี้ครบถ้วน รับรองได้ว่า ไม่จน
หลักธรรมพระพุทธศาสนา #คุณธรรมจริยธรรมสำหรับครู #EP1 #เตรียมสอบครูช่วย2563 #หลักธรรม
อิทธิบาท 4
พรหมวิหาร 4
สังคหวัตถุ 4
ฆราวาสธรรม 4
ทิฏฐธัมมิกัตถะ4
อริยสัจ 4
หากผิดพลาดต้องขออภัยด้วยนะครับ
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Economy